วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

เจลหรือเอสเซ้นส์

        เจลหรือเอสเซ้นส์ ส่วนผสม คือ น้ำ + สารบำรุงผิว + สารสร้างเนื้อเจล สำหรับเอสเซ้นส์ ก็แค่ไม่ต้องมีสารสร้างเนื้อเจล เท่านั้นเอง การสร้างเนื้อเจลนั้นมีหลายตัว ดังนี้

  • Xanthan Gum , ECOCERT Organic Natural Thickener เป็น Gum จากธรรมชาติ ข้อดี คือ มาจากธรรมชาติ 100% ใช้งานง่ายทนกรด-ด่างได้ดี และทนอิเล็กโทรไลต์ได้ ข้อเสีย คือ ลักษณะเนื้อเจล จะไม่สวยเหมือนเจลจากเคมี
  • Hyaluronic Acid (ชนิด Standard) เป็นสารให้ความชุ่มชื้นผิว ด้วยการกักเก็บน้ำไว้ให้ผิว แต่มีคุณสมบัติก่อตัวเป็นเนื้อเจลได้ จึงเป็นที่นิยมใช้กัน เพราะสามารถใช้สร้างเนื้อเจลได้ แถมยังช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ข้อดี คือ ทนอิเล็กโทรไลต์ได้ แต่ข้อเสีย คือ ทนกรด-ด่างไม่ได้มากนัก และลักษณะเนื้อเจล จะเหลวกว่าสารสร้างเนื้อเจลชนิดอื่นๆ วิธีแก้ คือ ถ้าความหนืดไม่เพียงพอ ให้เติมสารสร้างเนื้อเจลชนิดอื่นๆ เข้าไปช่วยด้วย
  • Pro Polymer เป็นสารสร้างเนื้อเจลจากโพลิเมอร์ ข้อดี คือ สร้างเนื้อเจลได้สวยกว่าสารธรรมชาติอย่าง Xanthan Gum ข้อเสียคือไม่สามารถทนอิเล็กโทรไลต์ได้ดีเท่าแม้จะทนได้พอสมควร
อิเล็กโทรไลต์ (electrolyte) คืออะไร

        สังเกตุดูว่าเวลาเราทาเจลลงบนผิว ไม่นานเจลจะเหลวกลายเป็นน้ำ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างเหงื่อของเรา ซึ่งมีอิเล็กโทรไลต์อยู่ ทำปฏิกิริยากับเนื้อเจล ทำให้เจลกลายเป็นน้ำ เพราะฉะนั้น สมมุติว่าเราทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเป็นเจล แล้วใส่อิเล็กโทรไลต์ลงไปในนั้น เจลก็จะสลายตัวเป็นน้ำในเวลาอันสั้น สารที่มีอิเล็กโทรไลต์ นอกจากเหงื่อเราแล้ว ก็ทุกตัวที่มีเกลือ (Sodium) ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเหมือนเหงื่อเราที่มีเกลืออยู่ดัวย ตัวอย่างสารเหล่านี้ เช่น

  • Sodium Lactate
  • Sodium PCA
  • Natural Moisturizing Amino Acids
  • Lactic Acid (AHA)
  • Aloe Vera
  • Zinc PCA
  • Azelaic Acid
  • DMAE
  • Acetyl L-Carnitine
        แม้ว่า Pro Polymer จะไม่สามารถทนอิเล็กโทรไลต์ ได้ดีเท่า Xanthan Gum หรือ ECOCERT Natural Organic Thickener แต่ก็สามารถทนได้ เพียงแต่ต้องใช้ในอัตรามากขึ้น เวลาที่เราสร้างเนื้อเจลด้วย Pro Polymer แล้วเติมส่วนผสมที่มี electrolyte แล้วจะสังเกตุได้ทันทีว่า ความหนืดของ Pro Polymer จะลดลง จากเจลหนืดๆ กลายเป็นเจลเหลวเป็นน้ำทันที วิธีแก้ไข คือ การเติม Pro Polymer ในอัตราที่มากขึ้น เช่น จาก 1% กลายเป็น 2% หรือจนกว่าจะได้ความหนืดของเนื้อเจลที่ต้องการ

อัตราส่วนการใช้สารสร้างเนื้อเจล


  • Xanthan Gum 0.1-2.0% (ยิ่งมากยิ่งหนืด แนะนำใช้ที่ 1%) 
  • Hyaluronic Acid Standard 0.5-1.0% (ยิ่งมากยิ่งหนืด แต่ห้ามใช้เกิน 1% หากหนืดไม่พอ ให้เติมสารสร้างเจลชนิดอื่นแทน)
  • Pro Polymer 1-5% (แนะนำที่ 2% แต่ถ้ามีอิเล็กโทรไลต์ในสูตรมาก ให้ใช้ Pro Polymer ให้มากขึ้น ไม่งั้นจะเหลวไป)
        มาถึงขั้นตอนการผสม นำสารบำรุงผิวที่เราเลือกไว้ต่างๆ ผสมลงในน้ำ คนให้ละลายเข้ากันสมบูรณ์ จากนั้นก็แค่เติมสารสร้างเจล ไม่ว่าจะเป็น Xanthan Gum , Hyaluronic Acid Standard หรือ Pro Polymer จากนั้นก็คนหรือปิดฝาเขย่า จนกลายเป็นเนื้อเจล มีเคล็ดลับอยู่ว่า อุณหภูมิที่ต่ำลง จะช่วยให้ Pro Polymer , Hyaluronic Acid Standard สามารถละลายตัว และก่อเนื้อเจลได้เร็วขึ้น ส่วนถ้าเป็นสารธรรมชาติ คือ Xanthan Gum อุณหภูมิที่สูงหน่อย จะช่วยให้เป็นเจลได้เร็วขึ้น แต่ก็ไม่ควรใช้ความร้อน เพราะจะไปกระทบกับส่วนผสมตัวอื่นที่อาจเสื่อมเมื่อเจอความร้อนได้ เพราะฉะนั้น ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องได้เลยไม่ต้องแช่เย็น

ตัวอย่าง

เจลบำรุงผิวให้แข็งแรง และให้ผิวขาวใส โดยมีสูตร ดังนี้

  • Vitamin B3 (บำรุงผิว ลดริ้วรอย ให้ผิวขาวใส) 4%
  • N-Acetyl Glucosamine (ให้ความชุ่มชื้นผิว ให้ผิวขาวใส) 4%
  • Alpha Arbutin (ให้ผิวขาวใส) 2%
  • Pro Polymer 2% หรือ Xanthan Gum 1%
  • Phenoxyethanol (สารกันเสีย) 1%
  • Water (ส่วนที่เหลือ 87% หรือ 88%)
        นำสารทุกอย่างผสมลงในน้ำ (ตัวไหนก่อนตัวไหนหลัง ไม่สำคัญ) ยกเว้น Pro Polymer หรือ Xanthan Gum คนให้เข้ากัน ผงทุกอย่างละลายสมบูรณ์ แล้วค่อยใส่ Pro Polymer หรือ Xanthan Gum ลงไป จากนั้น คนหรือเขย่า ให้เข้ากัน อาจใช้เวลา 3-5 ชม. ให้ Pro Polymer หรือ Xanthan Gum สร้างเนื้อเจลให้สมบูรณ์ เป็นอันเสร็จ
        หากต้องการสร้างเนื้อเจลด้วย Hyaluronic Acid : Hyaluronan หรือ Hyaluronic Acid (หรือมักเรียกสั้นๆ ว่า HA) คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกายของเรา โดยจะมีมากที่สุดในส่วนที่นุ่มๆ เช่น ผิวเรา ดวงตาเรา โดยมีลักษณเหมือนเป็นเจลเชื่อมอยู่ระหว่างเซลล์ต่างๆ ของเรา ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำให้แก่เซลล์ ปัญหาเกิดขึ้นตอนที่ พอเราอายุมากขึ้น สาร HA นี้จะลดน้อยลง ทำให้ผิวเราเริ่มแห้ง เริ่มเหี่ยว เริ่มย่น
        สาร Hyaluronic Acid ที่ใช้กันในเครื่องสำอางค์ รวมถึงใช้ในการแพทย์ (เป็น Filler ไว้ฉีดเข้าหน้า) เกิดจาก Boitechnology จากการบ่มของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่ปลอดภัย
        ปัจจุบันที่นำมาใช้ในเครื่องสำอางค์ มีอยู่หลายแบบ คือ แบ่งตามน้ำหนักของ Molecule ซึ่งมีหน่วยเป็น Daltons

  • Hyaluronic Standard Molecule (ประมาณ 1,000,000 Daltons)
  • Hyaluronic Nano Molecule (ประมาณ 35,000 - 50,000 Daltons)
        ความแตกต่างของ โมเลกุลธรรมดา และโมเลกุลเล็ก คือ ความสามารถในการซึมเข้าสู่ชั้นผิว ถ้าโมเลกุลเล็กก็จะซึมเข้าไปลึก ในขณะที่โมเลกุลธรรมดา จะซึมอยู่ชั้นบนๆ เท่านั้น
        ความแตกต่างไม่ใช่แค่เรื่องการซึมเข้าผิว แต่เป็นเรื่องการผสมด้วย Standard Molecule นั้นจะก่อตัวให้กลายเป็นเจลได้ ในขณะที่ Nano Molecule จะไม่ต้องก่อตัวกลายเป็นเจล แต่จะเหลวเหมือนน้ำ

ตัวอย่าง

        Gel Hyaluronic Acid แบบมีทั้งโมเลกุลเล็ก + โมเลกุลธรรมดา DHL Double Moisture Lotion Light Touch ราคา 560 บาท ปริมาณ 200 ml. ถ้าใครเคยซื้อมาลอง จะเห็นว่า ในส่วนประกอบมี Alcohol อยู่ด้วย งงไปเลย ว่าจะใส่มาทำไม น่าจะเป็นเรื่อง skin-feel อีกแล้ว ทาแล้วรู้สึกว่าซึมหายไปเลย (แต่จริงๆ แล้ว คือ แอลกอฮอล์มันระเหยไป) การใช้ โมเลกุล 2 ขนาด ผสมกัน จะได้ผลดีกว่า โมเลกุลเดี่ยว

ขั้นตอนการทำ : Double Hyaluronic Acid

        Concept : บริสุทธิ์ที่สุด คือมีแต่ Hyluronic Acid 2 ชนิด คือ โมเลกุลเล็ก + โมเลกุลปกติ รวมกับน้ำบริสุทธิ์ โดยไม่เติมอะไรนอกไปจากนี้ เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่บริสุทธิ์ที่สุด ใช้ยังไงก็ไม่แพ้ ไม่ระคายเคืองผิว

ส่วนผสมที่ต้องใช้

  • Di Water 99 ml.
  • Hyaluronic Standard Molecule 0.5 gram
  • Hyaluronic Nano Molecule 0.5 gram
ขั้นตอน

  • ใส่ Hyaluronic Nano Molecule 0.5 กรัม และ Hyaluronic Standard Molecule 0.5 กรัม ลงในน้ำที่เตรียมไว้ 99 ml. ปิดฝา แล้วเขย่าซัก 3 นาที
  • นำสิ่งที่ได้จากข้อ 1 ไปแช่เย็น 3-5 ชม.
  • ลองเปิดออกมาดูและตรวจสอบว่า Hyaluronic ละลายสมบูรณ์แล้วหรือยัง (ไม่มีก้อนๆ อะไรลอยอยู่) ถ้ายัง ก็เขย่าซักหน่อยแล้วแช่เย็นต่อ แต่ถ้าสมบูรณ์แล้วเป็นอันเสร็จ
        สุดท้าย อย่าลืมเติมสารกันเสีย เช่น phenoxyethanol ซั 0.5-1.0% หยดเข้าไป แล้วคนให้เข้ากัน ตอนแรกหยดลงไปอาจจะกลายเป็นขุ่นๆ  แต่คนหรือเขย่าซักพักจนกว่าจะใส
        ***สารกันเสียมีความจำเป็นต่อสูตรนี้ เพราะหากไม่ใส่สารกันเสียแล้วเราเก็บไม่ดี เช่น ไม่เก็บในตู้เย็นตลอด แบคทีเรียอาจจะเริ่มก่อตัว ก่อนที่สูตรเราจะเสีย Hyaluronic Gel ที่เราทำ จะเสียความหนืดก่อน คือ จากเนื้อเจลนิดๆ จะกลายเป็นน้ำเหลวเลย สาเหตุ คือ แบคทีเรียเหล่านี้ เข้าไปทำลายโมเลกุลของ Hyaluronic จากโมเลกุลที่มีความยาวหน่อย (ยิ่งยาวยิ่งหนืด) แตกกลายเป็นโมเลกุลที่เล็กลง ทำให้เหลวเป็นน้ำ เพราะฉะนั้น แนะนำว่า ควรเติมสารกันเสียซักหน่อย จะได้สบายใจ โอกาศที่เราจะเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้ตลอดเวลามีน้อยมาก***
        เนื้อเจลจะมีความคล้ายกับ Hada Labo มากๆ แถมเป็น Double Hyaluronic Acid ด้วย ถ้าเปรียบเทียบกันเมื่อทาลงบนแขนแล้ว เนื้อของ Hada Labo มีความเป็นก้อนเจลมากกว่านิดหนึ่ง เพราะมีส่วนประกอบช่วยสร้างเนื้อเจล แต่เรื่องการซึมสู่ผิวไม่มีความแตกต่าง
        ในกรณีที่ต้องการเติมสารชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

  • ผงที่สามารถละลายในน้ำ เช่น Vitamin B3 , Allanoin (ต้องเติมแล้วคนให้ละลายอย่างสมบูรณ์ ก่อนใส่ Hyaluronic)
  • ของเหลว เช่น เปปไทด์ชนิดต่างๆ (ต้องเติมและคนให้เข้ากัน หลัง Hyaluronic ละลายอย่างสมบูรณ์ กลายเป็นเนื้อเจล แล้วเท่านั้น
        การดัดแปลงสำหรับผิวที่ไม่ได้แห้งมาก : เนื่องจากสูตรของ Hada Labo ที่แท้จริงแล้ว จะใช้ Hyaluronic Acid รวมกันปริมาณไม่เกิน 0.2% เท่านั้น ความแตกต่างของการใช้ที่ 0.5% ของสองชนิด (Standard + Nano) รวมกันได้ 1% นั้น จะมีความเหนอะหนะกว่ามากพอสมควร ทำให้เหมาะกับผิวที่แห้ง แต่อาจจะเหนอะหนะกับผิวธรรมดาหรือแค่ขาดน้ำเล็กน้อย หากใช้กับผิวที่ไม่แห้งมาก ควรปรับความเข้มข้นของ Hyaluronic Acid ให้อยู่ในระดับต่ำลงที่ 0.1-2.0% เท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เจลหรือเอสเซ้นส์

        เจลหรือเอสเซ้นส์ ส่วนผสม คือ น้ำ + สารบำรุงผิว + สารสร้างเนื้อเจล สำหรับเอสเซ้นส์ ก็แค่ไม่ต้องมีสารสร้างเนื้อเจล เท่านั้นเอง การสร้า...