- เลือกส่วนประกอบที่ผสมง่าย เนื่องจากเราเป็นมือสมัครเล่น อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้อาจจะไม่มีความสมบูรณ์นัก เลือกส่วนประกอบที่ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ได้ผลดี เพราะฉะนั้นหากเป็นส่วนผสมที่ต้องใช้ความร้อนละลาย หรือต้องมีวิธีผสมพิเศษ ก็ควรจะเลี่ยง ดูง่ายๆ คือ อ่านวิะีการผสมหรือวิธีการใช้ ภายใต้รายละเอียดของผลิตภัณฑ์แต่ละตัว ถ้าอ่านดูแล้ว ท่าทางจะยุ่งยากก็เลี่ยงซะดีกว่า นอกจากถ้าชำนาญแล้วก็ลุยเลย
- เลือกส่วนประกอบหลายๆ ตัว ใส่อย่างละเล็กน้อย ดีกว่าใส่น้อยตัว แต่ใส่เยอะๆ เพราะว่าส่วนประกอบแทบทุกตัว มี Limit ของมันอยู่ สมมติว่าเราผสมสาร active ชนิดหนึ่งที่ 5% การเพิ่มให้เป็น 10% ก็มักจะไม่ได้ให้ผล 2 เท่า ของ 5%
- ไม่ใส่มากจนทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อข้น หรือเหนียว เพราะเวลาใช้ เราจะรู้สึกไม่สบายผิว เหนอะหนะ และสุดท้ายก็อาจจะเลิกใช้ ก็จะเสียของเปล่าๆ นะ แต่มากน้อยเท่าไหร่ จริงๆ อยู่ที่แต่ละคน ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นเจล ให้มีน้ำอย่างน้อย 70% ก็ถือว่ายังดีอยู่ ต่ำไปกว่านี้บางทีก็อาจจะเริ่มหนืดเหนียว แต่ก็อยู่ที่ส่วนประกอบที่เราผสมด้วย ถ้าเป็นครีม ตรงนี้ก็ยิ่งจะลำบาก เพราะบางคนก็ชอบให้รู้สึกว่าทาแล้วเหมือนมีอะไรเคลือบผิวบางๆ อยู่ อย่างนี้ก็อาจจะต้องมีน้ำมันซัก 20-30% บางคนไม่ชอบความรู้สึกมีอะไรเกาะอยู่ ก็อาจจะต้องลดสัดส่นน้ำมันลง แล้วใช้น้ำเยอะขึ้น
- ไม่เลือกอะไรที่ทำหน้าที่ซ้ำๆ กันหลายๆ ตัว ตัวอย่างเช่น เปปไทด์ลดริ้วรอย หลายๆ ตัว ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน การที่จะใส่ไปซัก 4 ตัว ก็คงจะเสียเงินเป็น 2 เท่าของการใส่เพียง 2 ตัว ในขณะที่ ผลที่ได้อาจจะดีกว่าเล็กน้อยเท่านั้น
- แบ่งและเลือกส่วนประกอบออกเป็นกลุ่มๆ ตามการทำหน้าที่ วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกส่วนประกอบอย่างที่บอก คือ อย่างละนิดละหน่อย 1-2 ตัวทำหน้าที่ A , 1-2 ตัว ทำหน้าที่ B , 1-2 ตัวทำหน้าที่ C ยกตัวอย่าง เปปไทด์ลดริ้วรอย 1 ตัว , ต้านอนุมูลอิสระ 1 ตัว , ผิวขาวกระจ่งใส 1 ตัว , ให้ความชุ่มชื้นผิว 1 ตัว ตรงนี้มีข้อยกเว้นนิดนึง แบบ 1+1 มากกว่า 2 คือ สารบางตัว ทำหน้าที่เสริมกัน ยกตัวอย่างเช่น Natural Moisturizing Factor (NMF) เช่น Sodium Lactate , Sodium PCA , Urea ถ้าผิวแห้งมาก ใส่ทั้ง 3 ตัวเข้าไป ก็จะทำหน้าที่เสริมกันได้เป็นอย่างดีมาก
- ยาวิเศษไม่มีในโลก ถึงวันนี้ ยังไม่มีส่วนประกอบใด ที่ทาแล้วสวย ทาแล้วสาว ทาแล้วย้อนเวลากลับไป 10 ปีที่แล้วได้ สิ่งที่ทำได้ คือ การบำรุงและชะลออย่าต่อเนื่อง ให้ผิวมีสุขภาพดี ไม่รับสารต่างๆ ที่มีประโยชน์ คอยบำรุง และชะลอการเกิดริ้วรอย
- ของแพงไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป เวลาเลือก อยากให้ลองเลือกส่วนประกอบที่ถูกๆ ก่อน ส่วนประกอบที่ราคาถูกหลายๆ ตัว มีประสิทธิภาพดีมาก ยกตัวอย่างเช่น Vitamin B3 ซึ่งมีราคาไม่แพง แต่ให้ผลดี ถึงขนาด ผลิตภัณฑ์ของ Olay แทบทุกชนิด ที่ขายกันขวดเล็กๆ 500-800 บาท ใช้กันแทบทุกตัวใน Line Regenalist ของเค้า โดยมักจะเป็นส่วนประกอบหลักเลยด้วย เพราะฉะนั้น การที่เราเลือกสรรราคาไม่แพง ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ได้ผลที่ดี
- ผิวคนเราแตกต่างกัน ถ้าเพื่อนเราใช้อันนั้นดี ไม่ได้หมายความเสมอไปว่าเราจะใช้แล้วดีด้วย เผลอๆ ใช้แล้วอาจจะแพ้ก็ได้ เพราะฉะนั้น การเลือกและทดสอบ และปรับแต่ง ให้เหมาะกับผิวของเราเอง จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด โดยค่อยๆ เพิ่มเติมสารที่เราอยากทดลอง และสังเกตุดูการตอบสนองของผิวเราว่าดีเพียงใด มีการตอบสนองหรือไม่ ถ้าไม่มีก็อาจสมควรต้องตัดออกเพราะเสียเงินฟรี แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างต้องใช้เวลา
การเลือกส่วนผสม ส่วนผสมที่สามารถผสมในเจลหรือเอสเซ้นส์ได้ ต้องเป็นส่วนผสมที่สามารถละลายน้ำได้ (ถ้าเป็นผง ก็ต้องเป็นผงที่สามารถละลายน้ำได้ ถ้าเป็นของเหลว ก็ต้องเป็นของเหลวที่สามารถผสมเข้ากับน้ำได้) เนื่องจากเจลหรือเอสเซ้นส์เป็นน้ำล้วน แต่ถ้าเป็นเซรั่ม ครีม หรือ โลชั่น สามารถเลือกส่วนผสมที่ละลายในน้ำมันได้
Patch-test หรือการทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้จริง
การที่เรายิ่งใส่สารหลากชนิดมากขึ้น ก็ทำให้เรามีโอกาสแพ้ได้มากขึ้น ตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของส่วนประกอบนั้นๆ หรือความผิดของผิวเราแต่อย่างใด ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่เหมาะกับเรา หากเป็นคนผิวแพ้ง่าย patch-test ด้วยการทาบนข้อพับ เช่น ที่ข้อพับแขน จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า เราสามารถใช้สารต่างๆ เหล่านั้นบนผิวหน้าเราได้
สารแต่ละตัวที่เลือกจะเข้ากันได้มั๊ย
การเข้ากันได้ - ไม่ได้ เราดูที่ความเสถียรของส่วนผสมแต่ละตัว ว่าต้องการอยู่ในสภาพใดเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น สาร A ต้องอยู่ใน pH ระหว่าง 4-7 เพราะฉะนั้นสูตรเราผสมเสร็จ pH ก็ต้องอยู่ช่วงประมาณนี้ แต่ถ้าเราต้องการใส่สาร B ซึ่งจะทำงานได้ก็ต่อเมื่ออยู่ใน pH 3-4 (ตัวอย่างเช่น สาร AHA ทั้งหลายที่ไว้ผลัดเซลลืผิวหน้า) แปลว่า สูตรเราต้องให้ pH พอดีที่ 4.0 ถ้ามากไปกว่านี้ AHA ก็ไม่ทำงาน ถ้าน้อยไปกว่านี้ สาร A ก็เสื่อมสภาพ โดยสารแต่ละตัวจะมีรายละเอียดอธิบายอยู่แล้ว ว่าต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมใด ถ้าเราหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับส่วนผสมทุกตัวได้ ก็ไม่ต้องกังวลใดๆ ว่ามันจะไม่เข้ากัน ข้อกำหนดของส่วนผสมแต่ละตัวอ่านได้จากรายละเอียดของส่วนผสมนั้นๆ
Patch-test หรือการทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้จริง
การที่เรายิ่งใส่สารหลากชนิดมากขึ้น ก็ทำให้เรามีโอกาสแพ้ได้มากขึ้น ตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของส่วนประกอบนั้นๆ หรือความผิดของผิวเราแต่อย่างใด ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่เหมาะกับเรา หากเป็นคนผิวแพ้ง่าย patch-test ด้วยการทาบนข้อพับ เช่น ที่ข้อพับแขน จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า เราสามารถใช้สารต่างๆ เหล่านั้นบนผิวหน้าเราได้
สารแต่ละตัวที่เลือกจะเข้ากันได้มั๊ย
การเข้ากันได้ - ไม่ได้ เราดูที่ความเสถียรของส่วนผสมแต่ละตัว ว่าต้องการอยู่ในสภาพใดเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น สาร A ต้องอยู่ใน pH ระหว่าง 4-7 เพราะฉะนั้นสูตรเราผสมเสร็จ pH ก็ต้องอยู่ช่วงประมาณนี้ แต่ถ้าเราต้องการใส่สาร B ซึ่งจะทำงานได้ก็ต่อเมื่ออยู่ใน pH 3-4 (ตัวอย่างเช่น สาร AHA ทั้งหลายที่ไว้ผลัดเซลลืผิวหน้า) แปลว่า สูตรเราต้องให้ pH พอดีที่ 4.0 ถ้ามากไปกว่านี้ AHA ก็ไม่ทำงาน ถ้าน้อยไปกว่านี้ สาร A ก็เสื่อมสภาพ โดยสารแต่ละตัวจะมีรายละเอียดอธิบายอยู่แล้ว ว่าต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมใด ถ้าเราหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับส่วนผสมทุกตัวได้ ก็ไม่ต้องกังวลใดๆ ว่ามันจะไม่เข้ากัน ข้อกำหนดของส่วนผสมแต่ละตัวอ่านได้จากรายละเอียดของส่วนผสมนั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น